Learning log
5 (นอกห้องเรียน)
ในสมัย 5-10
ปีก่อนหน้านี้
การอ่านหนังสือที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือแม้แต่คำสั้นๆคำเดียวอาจเป็นปัญหาสำหรับเด็กไทยเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่จะช่วยเด็กได้ดีที่สุดในช่วงนั้นก็คือ dictionary
แต่มีราคาสูงและมีขนาดที่ใหญ่ในการค้นหาก็ใช่เวลานานอาจเป็นเหตุผลที่เมื่อเด็กเห็นภาษาแล้วมองข้ามมันไป เพราะใช้เวลาและยุ่งยากกว่าจะหาคำศัพท์เจอ
ต่อมาได้มีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการช่วยแปลคำศัพท์ใช้เวลาน้อยลง แต่อักษรขนาดที่ไม่สามารถพกพาได้จึงเป็นขีดจำกัดในการหาความรู้
ต่อมาในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความทันสมัยและก้าวไกลการเรียนรู้ จึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย
ผมมีภาระงานในรายวิชาหนึ่งที่จะต้องหาคำแปลและคำที่มีบริบทใกล้เคียงกัน ผมจึงได้ทดลองใช้โปรแกรมชนิดหนึ่ง ชื่อว่า
Thai Fast
Dict ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นที่สามารถดาวโหลดฟรีจาก App
store ตอนแรกที่ผมโหลดมาก็คิดแค่จำเอาไว้แปลคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่ในทางกลับกันฟังค์ชันของมันมากมาย มีคำสั้น
อักษร คำที่มีความหมายเหมือนคำที่มีความหมายแตกต่าง เสียง
และรูปภาพ
ผมคิดว่าโปรแกรมนี้สามารถฝึกฝนการออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีเลยทีเดียว และยังสามารถรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ผมใช้โปรแกรมนี้ผ่านทางสมาร์ทโฟนเกือบทุกวัน
และทุกครั้งที่ผมแปลผมจะกดให้ระบบออกเสียงและออกเสียงตาม ผมเคยคิดว่ามันออกเสียงแบบผิดๆหรือดี แต่จากการนำเสนองานในรายวิชาของอาจารย์ทิพวรรณ ทองขุนดำ
ท่านบอกว่าผมออกเสียงได้ดี
ผมจึงคิดว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้ได้ดีเลยทีเดียว
คำศัพท์ส่วนใหญ่ที่ผมหาจะเกี่ยวกับคำ prefix,
suffixes และ root
โดยการลองเอา root ของคำ แล้วเติม
prefix หรือ suffixes ดูว่ามีความหมายหรือไม่มีความหมาย
และบอกหน้าที่ของคำศัพท์ว่าทำหน้าที่เป็นอะไร และมีเกมเติมคำศัพท์ให้เราได้เล่นอีกด้วย เป็นโปรแกรมที่มีความรู้และความสนุก
การเรียนรู้ของคนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเชื่อมโยงในรายวิชาที่เรียนได้อีกด้วย
เมื่อเรามีสื่อมีแหล่งข้อมูลแหล่งความรู้อยู่กับตัว อย่าใช้แบบไม่มีเหตุผล แต่จงให้เกิดผลมากที่สุด และอย่าปิดบังตนเอง
เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆจะทำให้เราตามเทรนและเป็นคนที่ก้าวทันเทคโนโลยี แต่อย่าให้เทคโนโลยีมาเป็นตัวกำหนดตัวเรา แต่จงใช้ตัวเรากำหนดเทคโนโลยี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น