วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

The Passive

The Passive
ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่นเขา เดิน เขา เป็นประธาน (Subject) เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)    เรา กิน มันฝรั่งเรา เป็นประธาน (Subject) กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense) ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tense อย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) 
เมื่อใช้ประโยคว่ามะม่วง ถูกกิน ประธานของประโยคคือ Apples ไม่ได้ทำกริยา กิน แต่ในทางตรงกันข้าม ประธานกลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ จดหมาย ถูกอ่าน เมื่อวานนี้ จดหมาย เป็นประธาน (Subject) ถูกอ่าน เป็นกริยา (Past Tense) ในทำนองเดียวกันกับประโยคแรก จดหมายซึ่งเป็นประธานของประโยคไม่ได้ เป็นผู้อ่าน แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกอ่านโดยประธาน ทั้ง 2 ประโยคหลังนี้ มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า กรรมวาจก (Passive Voice)
ประโยค Passive voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb to be + Verb 3 (Past Participle) ซึ่งส่วนมากจะถูกเปลี่ยนจากประโยค Active voice (ประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb1) แต่ก็ไม่ใช่แค่เอามาสลับที่กันเฉยๆนะครับ ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีเงื่อนไขเสมอ วิธีการแปลประโยค passive ให้เป็นภาษาไทย สำหรับโครงสร้างแบบ Passive Voice จะแปลว่า ถูกกระทำ เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งแปลว่า ได้รับการกระทำนั้น ดูจะเหมาะกว่า เช่น He was punished by his teacher a few days ago. เขาถูกลงโทษ โดยครูของเขาเมื่อ 2 - 3 วันก่อน หรือประโยค The articles were read by most students. บทความถูกอ่าน โดยนักเรียนส่วนใหญ่

หากเรารู้จักรูปแบบประโยคดีแล้ว นั่นคือเรารู้ว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกริยา และตัวไหนเป็นกรรม เอามารวมกับความรู้เรื่อง tense และกริยาสามช่องที่เคยเรียนในชั้นปีที่ 1 และ2 ในรายวิชาไวยากรณ์  ผมคิดว่าเรื่อง Passive voice ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่ถ้าหากบางคนยังคิดว่ายาก ก็เพียงแค่ฝึกฝน อดทน และพยายาม อย่างไรก็ดีคำว่า ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่นก็ยังใช้ได้เสมอ เพราะการฝึกฝนบ่อยๆจะทำให้เรารู้สึกคุ้นชินกับคำศัพท์และสามารถแปลประโยคได้อย่างง่ายดาย และถูกต้องตามหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น