วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text types

Text types
รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงาน การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนานวิธีการเขียนแบบต่างๆไว้ว่า เป็นงานเขียนสั้นๆที่อภิปราย บรรยายหรือวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรายงานข้อมูล ทั้งในลักษณะโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือในลักษณะต้องใช้ความคิดอย่างหนักหรือแบบเบาสมอง ส่วนใหญ่จะเขียนในนามของสรรพนามบุรุษที่หนึ่งหรือสาม รูปแบบการเขียนที่ใช้กันมาก ได้แก่
                แบบบรรยาย (Descriptive) เป็นแบบที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างว่า ดูเป็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร รสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน โดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส ข้อเขียนอาจเป็นการบรรยายเป็นรายการ คือให้รายละเอียดจุดต่อจุด หรือบรรยายเป็นเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล หรือนักกีฬาทำอย่างไรเพื่อไปสู่โอลิมปิก
                แบบให้นิยาม (Definition) เป็นข้อเขียนที่พยายามให้นิยามคำเฉพาะหรือให้มโนทัศน์ ที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลึกไปกว่าความหมายในพจนานุกรม อาจต้องอธิบายถึงเหตุผลว่า ทำไมคำนั้นจึงนิยามอย่างนั้น การเขียนอาจเป็นการนิยามโดยตรง หรือเขียนเป็นเรื่องราวที่แฝงนัยให้ผู้อ่านอนุมานความหมายเอง เช่น ความหมายของความรัก ความหมายที่แท้จริงและความสำคัญของความซื่อสัตย์ ความหมายของครอบครัวที่ลึกไปกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือด
                แบบเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่าง (Compare/Contrast) เป็นข้อเขียน                 ที่อภิปรายถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของสิ่งสองสิ่งหรือบุคคล ความคิด สถานที่ ฯลฯ อาจเป็นข้อเขียนที่อภิปรายอย่างไม่ลำเอียง หรือจูงใจให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นข้อเขียนง่ายๆที่ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน หรือลงลึกให้หยั่งรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ข้อเขียนอาจอภิปรายทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่าง หรืออาจอภิปรายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความคล้ายคลึง และความแตกต่างระหว่างเมืองสองเมือง หรือระหว่างบุคคลสองคน
                แบบเหตุและผล (Cause/Effect) เป็นการอธิบายว่า เหตุใดเหตุการณ์หนึ่งจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอย่างไร มีผลอะไรเกิดขึ้นจากประสบการณ์นั้น เรียงความนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หรือประสบการณ์ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ข้อเขียนอาจอภิปรายทั้ง เหตุและ ผลเช่น ทำไมภูเขาไฟจึงระเบิด และอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น แบบเล่าเรื่อง (Narrative) ข้อเขียนจะเป็นเรื่องเล่าหรือเรื่องสั้น เป็นการเล่าถึงประสบการณ์ส่วนบุคคล มักเขียนในรูปสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง อาจเล่าถึงรูปแบบชีวิตของคนๆหนึ่ง หรือประสบการณ์ประจำวันโดยทั่วไป เช่น น้องชายพาฉันกับตาไปตกปลา ประสบการณ์เฉียดตายของข้าพเจ้าที่ชายทะเล เป็นต้น
แบบอธิบายกระบวนการ (Process) เป็นการอธิบายถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าทำอย่างไร โดยทั่วไปอธิบายการกระทำที่แสดงออกมาตามลำดับ รูปแบบการเขียนจะเป็นคำและทำเป็นขั้นตอน หรืออาจเขียนในรูปแบบการเล่าเรื่อง พร้อมกับคำแนะนำหรือคำอธิบายเป็นช่วงๆไปโดยตลอด แบบอภิปรายให้เหตุผล (Arguementative) เป็นข้อเขียนที่พยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนแบบให้คิดอย่างจริงจังหรือแบบสนุกสนาน แต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนอย่างตรงไปตรงมา หรือค่อยๆโน้มน้าวโดยอาศัย การใช้คำ เช่น เราควรใช้การขนส่งสาธารณะแทนการขับรถ หมาย่อมดีกว่าแมว เป็นต้น
แบบวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical) เป็นข้อเขียนที่วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และวิธีการ ที่บุคคลใช้ทำงาน โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงจุดสำคัญอย่างสั้นของเนื้อหาในหนังสือ ภาพยนตร์หรืองานศิลปะ จากนั้นอภิปรายข้อดีที่ผู้เขียนหรือผู้สร้างสรรค์งานบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไร แล้วให้ความเห็น เช่น จุดแข็งจุดอ่อนของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้แต่งเสนอตัวละครเอกอย่างไร เป็นต้น และการเขียนอธิบาย (Expository writing) เป็นรูปแบบการเขียนที่ให้ข้อเท็จจริง ไม่ได้อาศัยโครงเรื่องและตัวละครเหมือนการเขียนเล่าเรื่อง ซึ่งจะพบข้อเขียนแบบนี้ได้บ่อยในเรื่องข่าว บทความ และรายงานสารสนเทศในลักษณะการเขียนอธิบาย ประกอบด้วยใจความสำคัญและรายละเอียด  ที่สนับสนุน ได้แก่ ข้อเท็จจริงหรือการอ้างอิงคำพูด การเขียนประกอบด้วยตอน 3 ตอน คล้ายกัน คือ ตอนนำ ตอนเนื้อเรือง และตอนสรุปที่สนับสนุนใจความสำคัญของเรื่อง
การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative writing) เป็นรูปแบบการเขียนที่เล่าถึงเรื่องราวต่างๆอาจเป็นบันเทิงคดี  เช่น เทพนิยาย เรื่องสั้น นวนิยาย หรืออาจเป็นสารคดี เช่น ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ เป็นต้น รูปแบบการเขียนแบบนี้ประกอบด้วย  ตอนเริ่ม ได้แก่การกำหนดตัวละครและตอนนำตามโครงเรื่อง) ตอนกลาง (ตอนต่อตามโครงเรื่องและจุดตื่นเต้นเร้าใจของเรื่อง) และตอนจบ การลงสรุปหรือการแก้ปัญหาในเรื่องได้สำเร็จ การเขียนแบบเล่าเรื่อง อย่างน้อยต้องมีตัวละครหนึ่งตัว เป็นบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของที่สมมุติเป็นตัวตนได้ และปัญหา ข้อขัดแย้ง ที่ต้องการแก้ไข

                นอกจากนี้แล้วยังมีผู้แบ่งรูปแบบการเขียนตามจุดประสงค์เฉพาะในลักษณะอื่นๆ โดยมีข้อแนะนำในการเขียนแต่ละรูปแบบอยู่ด้วย แต่มีความแตกต่างกัน การเขียนตามรูปแบบการเขียนที่หลากหลายมีลักษณะแตกต่างกันไปเช่นกัน นักวิชาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการเขียนไว้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่จะเขียน ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนได้อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อปูพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ไม่ว่างานเขียนรูปแบบใด แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือการสามารถแปลความหมายงานแปลนั้นให้ได้มีอัธรส น่าสนใจ เนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น