รูปแบบกระบวนการแปล (Model of the Translation Process )
สิ่งที่จะนำไปสู่งานแปลที่ดีนั้นคือการทำความรู้จักและทำความเข้าใจต่องานแปลนั้นให้ดีในระดับหนึ่งอย่างถี่ถ้วนก่อน
ซึ่งงานแปลนั้นอาจจะอยู่ในยุคที่แตกต่างกัน ซึ่งงานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางศาสนา
เช่น คัมภีร์ต่างๆ และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวยงาม ดังเช่น
งานแปลของเชคสเปียร์ จะเห็นได้ว่างานแปลในยุคโบราณนั้น
เป็นงานของชนชั้นสูงและเป็นผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
ในยุคต่อมาจึงมีความต้องการงานแปลในด้านต่างๆมากขึ้นทั้งการค้า และการติดต่อต่างๆ
ทำให้มีการคิดค้นวิธีการที่จะทำงานแปลที่มีคุณภาพ ได้แก่ 2 รูปแบบคือ
รูปแบบของ Roger T. Bell และรูปแบบของ Daniel
Gile
รูปแบบแรกคือ รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell เป็นการสร้างแผนผังกระบวนการที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล
อันเป็นกระบวนการแปลที่เกิดภายในระบบความคิด
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆคือ 1. Analysis การวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับ ออกมาเป็นความหมายที่ยังไม่เป็นภาษา รูปแบบดังกล่าว
มีแนวคิดพื้นฐานว่าการแปลเป็นกระบวนการข่าวสารของมนุษย์ ซึ่งเกิดอยู่ในความจำระยะสั้นและระยะยาว
เป็นเครื่องมือในการถอดความหมายของภาษาต้นฉบับและใส่ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
และ2. Synthesis การสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาต้นฉบับแปล
รูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ และในแต่ละขั้นตอนมีการดำเนินการสามแบบ คือ Syntactic
semantic และ pragmatic ในการวิเคราะห์นั้นผู้แปลจะต้องวิเคราะห์โครงสร้างคือการอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค
แล้ววิเคราะห์แยกออกเป็นโครงสร้าง
โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างภาษาที่เก็บไว้ในคลังความจำของแต่ละคน
แล้วจึงวิเคราะห์เนื้อหา ให้กับโครงสร้างที่ได้มาจากขั้น syntactic
analysis ในขั้นนี้จะวิเคราะห์อนุประโยคว่าเกี่ยวกับอะไร
แล้ววิเคราะห์ภาษา เมื่อผ่านขั้นตอนทั้งสามแล้ว จะได้semantic
representation ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอนุประโยคที่นำมาวิเคราะห์แล้วจึงนำไปสังเคราะห์
พร้อมด้วยการตัดสินเพื่อนำไปสู่การแปลความหมาย
รูปแบบที่สองคือ รูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile เป็นรูปแบบที่อธิบายกระบวนการในการดำเนินการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล
ซึ่งในขั้นแรกต้องอ่านต้นฉบับทีละ TU ซึ่งหมายถึงการแบ่งข้อความที่อ่านออกเป็นหน่วยเดี่ยว
เพื่อจะดำเนินการ ซึ่งอาจเป็นเพียงคำคำเดียว ในขั้นนี้ Gile
เน้นว่าหากนักแปลมีความเข้าใจต้นฉบับเพียงความหมายของคำหรือโครงสร้างภาษาเท่านั้น
ย่อมไม่สามารถสร้างงานแปลที่ดีได้ วิธีเดียวที่จะทำให้นักแปลมั่นใจว่าเข้าใจได้ดีที่สุด
คือการวิเคราะห์ต้นฉบับอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน
ดังนั้นทั้งรูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell และรูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแปลได้เป็นอย่างดี
ซึ่งรูปแบบดังกล่าวสามารถเป็นแนวทางและตัวอย่างเพื่อนำไปฝึกฝน
และประยุกต์ในงานต่อไปได้ สำหรับการเรียนในเนื้อหาดังกล่าว
สามารถนำไปฝึกในการทำงานกลุ่ม สู่งานคู่ และงานเดี่ยว
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้ศึกษาอย่างแน่นอน จึงสามารถสะท้อนผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ถ้าหากผู้เรียนยังไม่เข้าใจในกระบวนการ สิ่งหนึ่งที่จะสามารถทำได้
คือการฝึกฝนในชิ้นงานบ่อยๆ ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น