วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี
                บันเทิงคดีเป็นเรื่องสมมติที่สร้างขึ้นมาอย่างมีจินตนาการและอารมณ์ มุ่งให้ความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ แต่ก็ให้ความรู้ด้วย มีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ บันเทิงคดีจึงเป็นงานเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนานให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่านโดยมีเกร็ดความรู้ ข้อคิด คติธรรม และประสบการณ์ชีวิตแทรกอยู่ในเรื่องนั้นๆ การเขียนบันเทิงคดีนั้น ผู้เขียนจะต้องมีจินตนาการ มีความสามารถคิดเรื่องที่สนุกน่าสนใจ มีศิลปะในการใช้ภาษา มีประสบการณ์ มีความเข้าใจชีวิต มีความรู้รอบตัวในศาสตร์ต่างๆ อย่างดี จึงจะเขียนบันเทิงคดีได้น่าอ่านและมีประโยชน์ งานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสาระคดี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีและองค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี เป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา ในด้านเนื้อหานั้นบันเทิงคดีอาจนำเสนอเนื้อหาสาระที่มีความเป็นจริงบ้าง อาทิเช่น การเล่าหรือบรรยายชีวิตความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ของโลกหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ของผู้เขียนในงานที่เขียนด้วย กล่าวคือการถ่ายทอดสาระความรู้ในงานบันเทิงคดีมีความแตกต่างจากการเสนอสิ่งเหล่านี้ในสารคดีผู้เขียนบันเทิงคดีมีจุดประสงค์หลักคือให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผู้เขียน หรือเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความจริงของปรากฏการณ์ในสิ่งแวดล้อมต่างๆของสังคม ภาษาที่ใช้ในบันเทิงและสารคดีจึงมีแตกต่างกันอย่างชัดเจน
และองค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม เนื่องจากเรากำลังศึกษาและฝึกหัดแปลต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกบุคคลไม่หลากหลายและยุ่งยากเหมือนภาษาไทย จึงมีการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น ภาษาที่มีความหมายแฝงคือ คำศัพท์ที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษร แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย
โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบคำนามกับคำนามและการเปรียบเทียบคำกริยากับคำกริยา ในการแปลต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษซึ่งมีองค์ประกอบทางไวยากรณ์ชัดเจนตายตัวผู้แปลต้องเข้มงวดและยึดหลักไวยากรณ์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในการแปลโวหารอุปมาอุปไมยที่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่เปรียบเทียบเสมือนการสมมติ ซึ่งอาจเป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ สำหรับภาษาไทยนั้นไม่ว่าโวหารอุปไมยอุปมานั้นจะเป็นการสมมติแบบใดๆโครงสร้างของภาษาอังกฤษผู้แปลต้องวิเคราะห์การใช้โวหาร
ดังนั้นในการแปลงานบันเทิงคดีผู้แปลต้องให้ความใส่ใจในเรื่องคำศัพท์ทุกตัว ทั้งนี้ก็ต้องมีการพิจารราว่าคำศัพท์นั้นมีความหมายตรงตัวหรือไม่ หรือมีสิ่งที่อยู่รอบตัวนอกเหนือไปจากความหมายตรงตัว อย่างไรก็ดีผู้แปลจะต้องใช้ความสามารถ ปฎิภาณไหวพริบ จินตนาการ รวมทั้งการใช้วิจารญาณเพื่อตัดสินว่าคำศัพท์นั้นที่พบในงานชิ้นนั้น มีความหมายแฝงใดๆอยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการแปล ในการแปลใดๆหากผู้แปลไม่ได้พิจารณาต้นฉบับอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาโดยรวมในขณะนั้นการอ่านนี้ผู้แปลไม่ควรหาความหมายของคำศัพท์ใดๆแต่อาจทำเครื่องหมายบางอย่างไว้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น