วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
                ในการแปลวรรณกรรมนั้น สิ่งแรกนักศึกษาต้องเข้าใจในความหมายของงานประเภทวรรณกรรมก่อน นั้นหมายความว่า วรรณกรรมคือ หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือปัจจุบัน ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า วรรณคดี ด้วย ตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท บันเทิงคดี ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ผู้อ่านหวังที่จะได้รับความบันเทิงเพลิดเพลินเป็นใหญ่ ส่วนที่จะค้นหาความรู้ ข้อมูลต่างๆนั้นเป็นจุดประสงค์รองลงมา สิ่งสำคัญที่สุดในการแปลวรรณกรรมคือการรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบสมบูรณ์ ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ  งานแปลดังกล่าว อาทิเช่น งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง
                หลักการแปลนวนิยาย นวนิยายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่าแพร่หลายในทุกๆประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่ากับผู้แต่ง ในบางครั้งมีความสำคัญยิ่งกว่าผู้แต่ง งานแปลนวนิยายและหนังสือประเภทวรรณคดี มักมีชื่อเสียงมาสู้ผู้แปล จึงทำให้งานแปลมีคุณค่าและมีความสำคัญ  เห็นคุณค่าของวรรณกรรมอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหา  ถ้อยคำ ค้นหาสำนวน สละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจากการแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรมเพราะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ต่อมาเป็นการแปลบทสนทนา เป็นปัญหาที่ยุ่งยากของการแปลนี้เพราะใช้ถ้อยคำโต้ตอบภาษาพูดที่ต่างระดับกัน
                หลักการแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่ง มักจะใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการแปลเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับเดิม อย่างไรก็ตามถ้าวิเคราะห์การใช้ภาษาในบทบรรยายแล้ว จะพบว่าความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภทคือ ภาษาในสังคมและ ภาษาวรรณคดี ซึ่งภาษาสังคมคือการที่มนุษย์ในแต่ละสังคมนั้นจะต้องผ่านการฝึกฝนมาแล้วจนเกิดความเคยชินภาษาของแต่ละสังคมบางครั้งอาจจะดูคล้ายกันและในสังคมนั้นก็มักมีอิทธิพลในภาษาพูด และภาษาวรรณคดี เป็นภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมประเภทต่างๆซึ่งต้องการความไพเราะ สละสลวย เป็นภาษาที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักไวยากรณ์
หลักการแปลบทละคร บทละครคือวรรณกรรมการแสดง ถ้าไม่มีดนตรีหรือบทร้อยกรองประกอบ หรือที่เรียกว่าละครพูด ถ้ามีดนตรีหรือบทร้องเป็นส่วนสำคัญเรียกว่าละครร้อง ละครรำ ละครไทยอเช่นละครชาตรี วิธีการแปลบทละคร ดำเนินการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน นิยาย คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบก่อน หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม และการฝึกอ่านต้นฉบับหลายๆรอบเพื่อทำความเข้าใจในเนื้อเรื่อง
หลักการแปลบทภาพยนตร์ เมื่อจะนำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การนำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์มผู้ฟังจะได้ยินเสยงพูดภาษาไทย และการนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิมซึ่งผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดง และมีคำแปลควบคู่ไปด้วยพร้อมๆกัน บทภาพยนตร์ มีลักษณะเหมือนบทละคร คือประกอบไปด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่ แต่มีผู้แสดงที่หลากหลายกว่า แต่ละคนจะแสดงบทบาทการใช้คำพูดตามนิสัย และเน้นย้ำให้ชัดเจน บทแปลดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดง และพูดตามเปลี่ยนฉากที่รวดเร็ว หลักการแปลนิทาน นิยาย เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณสมัยที่ยังไม่ใช้ตัวอักษรสื่อสารกัน คนโบราณสื่อกันด้วยการบอกเล่า และเรื่องเล่าจึงเป็นการเล่าเรื่องด้วยปากด้วยวาจา สืบเนื่องกันมายาวนาน ซึ่งให้ทั้งความรู้และความสนุก
หลักการแปลนิทาน บันเทิงคดีประเภทนิทาน เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่โบราณ สมัยที่ยังไม่มีตัวอักษรในการสื่อสาร คนโบราณจึงมักจะสื่อกันด้วยการเล่าด้วยปาก ด้วยวาจา  ในการแปลเรื่องเล่าโดยเริ่มจากการอ่านต้นฉบับนิทาน อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่อง  และการเขียนบทแปลโดยการใช้วิธีเขียนแบบเก่าและหลักการแปลเรื่องเล่าสั้นๆ ซึ่งจะแฝงอารมณ์ขัน มักจะมีการใช้ถ้อยคำจำกัดความ มีความกะทัดรัด ถ้ามีความกำกวมก็เป็นเพราะผู้เขียนจูง เรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครจำนวนราวประมาณ 1-2 ตัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะระชั้นชิดแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้กระชับความในตอนจบ มักจะเป็นปมอารมณ์ขันที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง
หลักการแปลกวีนิพนธ์ เป็นวรรณกรรมที่เป็นบทร้อยกรอง มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ และจำนวนบรรทัด ทั้งเสียงหนักเบา การสัมผัสและจังหวะ ไทยเราเรียกข้อบังคับของกวีนิพนธ์ว่าฉันทลักษณ์ ใช้เป็นแนวทางแต่งโคลงฉันท์ กาพย์ กลอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเล่าเรื่อง ให้ความบันเทิงเพลิดเพลิน เพื่อให้เนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา  นอกจากจะแปลเนื้อหาสาระแล้วยังรักษาวิธีนำเสนอที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับที่สุดโดยมีการยึดฉันทลักษณ์เป็นหลัก มุ่งแสดงความรู้สึกนึกคิดมากกว่าเล่าเรื่อง ดังนั้นจึงต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทั้งสาระและความไพเราะของภาษา

            นอกจากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่นักแปลจะต้องระวังอยู่เสมอคือต้องคำนึงถึง ลีลาของนักเขียนคนนั้นๆ ถ้าเราเอาเรื่องนักสืบที่มีการผจญภัยน่า ตื่นเต้นมาแปลด้วยสไตล์อ่อนหวานเรียบร้อยซึ่งเป็นสไตล์การเขียนของเราเอง หรือเอาเรื่องรักหวานจ๋อยลีลาเหยาะน้ำผึ้งมาแปลด้วยสำนวนห้าวหาญ ราวกับกำลัง แปลเรื่องบู๊ ก่อนจะลงมือแปล จึงควรอ่านต้นฉบับหลายๆ เที่ยวจนรู้สึกอินกับเรื่องและลีลาของนักเขียนผู้นั้นเสียก่อนจึงค่อยลงมือแปล นักแปลที่ดีจะต้องหมั่นสังเกตความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของภาษาทั้งสองที่กำลังถ่ายทอดอยู่นั้นให้ดี มิฉะนั้นงานแปลอาจไม่สมบูรณ์ และไม่แปลผิด แปลขาด หรือแปลเกิน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น