วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

learning log 4 ในห้องเรียน

Learning  log  4  (ในห้องเรียน)
                ในการเริ่มเรียนรู้ภาษาอังกฤษของทุกคน  ผมเชื่อว่าทุกคนจะต้องเริ่มจากการท่อง  A-Z  ไม่ว่าจะเป็นการท่องแบบใด  แบบมีจังหวะหรืออาจจะไม่มีจังหวะ  แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน  ต่อมาก็เริ่มท่องคำศัพท์จากคำง่ายๆ  และถัดไปสู่คำที่มีความยากขึ้นไป  หลังจากทักษะการท่องแล้วก็เริ่มใช้ทักษะการเขียนจากการเขียนคำศัพท์ตามคำบอกของครูแล้วค่อยๆพัฒนาขึ้นมา  ในการทำแบบนี้เด็กจะได้ทั้งทักษะการฟังและทักษะการเขียนอีกด้วย  และเมื่อมีทักษะดังกล่าวแล้วก็จะต้องใช้คำที่มีมาสร้างเป็นคำประสมที่ง่ายๆ  เช่น  big  pig  หลังจากการเริ่มสร้างคำจากคำศัพท์ง่ายๆที่มีก็มาถึงขั้นของการสร้างประโยค
                ประโยค  คือ  เกิดจากการนำคำหลายๆคำมารวมเข้าด้วยกันให้เป็นระเบียบและมีความสัมพันธ์กัน  มีใจความที่สมบูรณ์  แสดงให้เห็นว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร  และการสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ  ประโยคจะสอดคล้องกับเรื่องของ  tenses  และไปด้วยกัน  การแต่งประโยคในภาษาอังกฤษจะต้องขึ้นอยู่ว่าเขาจะแต่ง  หรือจะสื่อออกมามีความหมายที่เป็นอดีต  อนาคต  หรือปัจจุบัน  ขึ้นอยู่กับบริบทของเรา  ประโยคจะประกอบด้วย  2  ส่วน  คือ  ภาคประธานและภาคแสดง  และอาจมีส่วนขยายอื่นๆ  ประโยคแบ่งได้  4  ประเภทดังนี้ 
                ประเภทแรกของประโยค  คือ  simple  sentence  หรือประโยคความเดียว  ประโยคแบบที่เป็นประโยคทั่วๆไปง่ายๆไม่มีความซับซ้อนอะไรฟังแล้วเข้าใจได้เลย  และประโยคความเดียวอาจแบ่งออกเป็น  6  รูปแบบ  ได้แก่  ประโยคบอกเล่า  (He  is  a  man)  ประโยคปฏิเสธ  (I  don’t  drink  coffee.)  ประโยคคำถาม  (Have  you  got  a  pen?)  ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ  (Do  not  you  go  home.)  ประโยคขอร้องหรือบังคับ  (You  should  go  there!  หรือ  You  must  follow him)  และประโยคอุทาน  Oh , my  gosh!!  แต่การสร้างประโยคดังกล่าวขึ้นอยู่กับ  tenses 
                ประเภทที่สอง  คือ  compound  sentence  หรือประโยคอเนกัตกประโยค  ก็คือ  ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคใจความเดียวสองประโยคมารวมกันโดยอาศัยตัวเชื่อมาเป็นแกนนำ  ตัวเชื่อมที่ใช้ก็จะมี  3  แบ  คือ  Co-ordinate  conjunction  ,  7  ตัว  คือ  (and  ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันหรือเพิ่มเติมความคิด),  or (ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง),  nor  (ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันและเป็นประโยคปฏิเสธ),  but (ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน,  so (ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน  โดยประโยคหน้า  so  จะเป็นเหตุ) ,  for (ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกันโดยหน้า  for  จะเป็นผล)  และ yet (ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน)
                การใช้  correlative  conjunction  เป็นตัวเชื่อม  ก็คือตัวเชื่อมที่เป็นคู่  ได้แก่  Either……or  (คือใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง  Neither…..nor  ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายสอดคล้องกันเป็นประโยคปฏิเสธทั้งสองประโยค  Not  only…..but  also  ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายสอดคล้องกัน  Both…..and  ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันและ และการใช้  conjunctive  adverb  moreover ,  besides,  furthermore  ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายสอดคล้องกัน  otherwise ใช้เชื่อมประโยตที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง  However , sill , nevertheless  ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน  thus,  therefore,  consequently,  hence,  accordingly  ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
                ต่อมาก็คือ  complex  sentence  หรือ  สังกรประโยค  คือ  ประโยคที่มีเนื้อหาซ้อน  ประกอบขึ้นมาจากสองประโยค  ซึ่งมีความสำคัญไม่เท่ากัน  คือ  main clause  อ่านแล้วจะได้เนื้อความที่มีความสมบูรณ์ของตัวมันเอง  ส่วน  subordinate  clause  เป็นประโยคที่ต้องอาศัย  main  clause  จึงจะได้เนื้อหาที่สมบูรณ์  เช่น  This  is  the  house  that  Jack  bought  lost  year  ซึ่งประกอบด้วย  main  clause  :  This  is  the  house.  และ  subordinate  clause  that  Jack  bought  last year.  โดยจะใช้ตัวเชื่อมดังนี้  คือ  subordinate  conjunction  ได้แก่  if  as,  that,  because,  if  since,  before,  after  etc,  ใช้  telative  pronoun  เชื่อม  ได้แก่  who,  whom,  whose,  which  that,  as,  but,  what,  of  which  where  และ  relative  adverb  ได้แก่  when,  whenever,  where,  why,  wherever,  how
                และสุดท้ายก็คือ  compound-complex  sentence  คือ  ประโยคที่มีตั้งแต่สอง  independent  clauses  ขึ้นไปและมี  dependent  clauses  ตั้งแต่  หนึ่งขึ้นไป  ก็คือ  มีทั้งประโยค  compound  และ  complex  ปนกันอยู่  เช่น  Since  the  article  seems  to  sadist  your  needs,  we  are  enclosing  a  copy  and  we  hope  that  it  will  help  you  find  a  suitable  solution  to  your  problem.
                ส่วน  adjective  phrases  ประกอบด้วยคำคุณศัพท์  กับส่วนขยายคำคุณศัพท์  ซึ่งมีทั้งประเภทที่อยู่หน้าและอยู่หลังคำคุณศัพท์  เช่น  very  happy  (อยู่หน้า)  happy  to  see  you  (อยู่หลัง)  หน้าที่ของ  adjective  phrases  จะทำหน้าที่ขยายคำนาม  เป็นตัวเสริมประธาน,  เป็นตัวเสริมกรรมขยายคำสรรพนามโดยอยู่ข้างหลังคำสรรพนามที่ขยาย  ส่วนการทำ  adjective  clause  ให้เป็น  phrases  ที่มีประธาน  เช่น  which,  that,  who  ทำได้สองวิธีคือ  เอาประธานและกริยา  verb  to  be  ออกกับ  เอาประธานออกแล้วเปลี่ยนกริยาแท้ให้เป็น  -ing
 เช่น       The  books  which  are  lost,  are  not  really  necessary.  (Clause)
The  books  cost  are  not  really  necessary.  (phrase)
Something  that  smells  bad  may  be  rotten.  (clause)
Something  smelling  bad  may  be  totfen  (Phrase)
                ดังนั้นการเริ่มต้มภาษาอังกฤษคือการเริ่มจากสิ่งที่เป็นพื้นบานตั้งแต่เริ่มท่อง  A-Z  และค่อยๆพัฒนามาเรื่อยๆตามลำดับ  จะทำให้เราได้รับความรู้และประสบการณ์  หากเราเริ่มต้นจากยากเลยอาจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ  ไม่อยากเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ผมคิดว่าที่เด็กพูดว่า  ไม่ชอบภาษาอังกฤษและมีทัศนคติที่ไม่ดี  อาจะเป็นเพราะขาดการฝึกอบรมอย่างเป็นลำดับ  และครูจัดการเรียนรู้ได้ไม่ดีพอ  จะทำให้เด็กรู้สึกว่ายากและไม่ชอบภาษา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น