วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นการถอดโดยวิธีการถ่ายเสียง  เพื่อให้การอ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้ใกล้เคียง โดยไม่มีการคำนึงถึงการสะกดการันต์ และวรรณยุกต์  เช่น จันทร์ chan, พระ phra  และ แก้ว kaeo ทุกวันนี้เรามักจะเจอป้าย หรือข้อความมากมายที่ยังถอดอักษรแบบผิดๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสิ่งรอบตัวเรา คือวิธีการถอดอักษรจากชื่อและนามสกุลของตนเองหรือชื่อของบุคคลทั่วไป ในบทเรียนดังกล่าวจะประกอบไปด้วยเรื่องการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ  ความหมายของคำ  การใช้เครื่องหมาย “-”  เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้อักษรตัวใหญ่ การถอดชื่อภูมิศาสตร์และการถอดคำทับศัพท์
การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ เราจะสังเกตเห็นว่าสะกดผิดกันบ่อยมากในอักษรบางตัวและสระบางตัวการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ มักจะมีการสะกดผิดกันบ่อยมากในอักษรบางตัว และสระบางตัว การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย บางตัวไม่มีสัญลักษณ์หรือระบบแทนเสียงวรรณยุกต์ สระสั้น และสระยาว ใช้ตัวอักษรเดียวกัน เช่น อะ และ อา ใช้ ตัวอักษร เหมือนกัน
ความหมายของคำ หน่วยคำหมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย อาจมีเพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น นา ที นาที ลอง กอง ลองกอง และคำหมายถึงหน่วยคำ  1 หน่วยคำ หรือมากกว่านั้น เช่น หน้า โต๊ะ ลูกเสือ จานผี มหาราช คำประสม หมายถึง หน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น ลูกเสือ หมายถึงคน การใช้คำสามานยนาม คือคำนามทั่วไปเช่น พระ คน เสื้อ สัตว์ แมว องค์กร ส่วนชื่อภูมิศาสตร์คือคำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติ รวมทั้งการเขียนทับศัพท์
นอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า "ธง" หรือ "ทอง" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า "thong" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง คือกางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "tong" แทน  ดังนั้นการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้ถูกต้อง โดยอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ เพื่อนำไปสู่การแปลงานแปลที่ดี ออกมาอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น