ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
ซึ่งหมายถึงภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย
สามารถอ่านบทแปลนั้นได้อย่างถูกต้อง มีความกระชับในเนื้อหา น่าสนใจน่าอ่าน
น่าติดตามไปจนจบเนื้อหา ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย หรือผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล
ไม่ให้บทแปลเกิดความพลิกแพลง หรือเนื้อหาเปลี่ยนแปลงไปจากเนื้อหาต้นฉบับ จึงควรเรียนรู้องค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
ได้แก่องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
คำและความหมาย
คำบาคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง
หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น คำว่าเบี้ยว
มีความหมายตรงว่าลักษณะของสิ่งที่กลมแต่ไม่กลม บิด ไม่ตรง แต่ในความหมายแฝง
กลับแปลว่าไม่ซื่อสัตย์ ทรยศ หักหลังเชื่อถือไม่ได้
คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่นในสมัยก่อนๆมีความหมายอย่างหนึ่ง
แต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี
บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่เลวลง เช่น กู เดิมเป็นคำสามัญที่ใช้พูดจากันทั่วๆไป
ปัจจุบันเป็นคำหยาบคาย มีความหมายเลวลง อาจจะใช้ได้ในกลุ่มเพื่อนสนิทเท่านั้น
การสร้างคำกริยา
ในที่นี้จะกล่าวถึง การเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา
ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็๙ดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน
คำกริยาที่เสริมท้ายนั้น ได้แก่ ขึ้น ลง
ไป มา โดยไม่มีความหมายเดิมเหลืออยู่เลย แต่กลายเป็นคำบอปริมาณ และทิศทาง เช่น
ทำขึ้น บอกประมาณว่ามาก ชัดเจน ช้าลง บอกปริมาณว่ามีเพียงเล็กน้อย โดยมีความหมายเปรียบเทียบเช่นเดียวกัน
กับ แก่ลง เสื่อมลง และคำว่าจากไป บอกทิศทางว่าห่างไกลออกไป เช่นเดียวกับเราพูดว่า
พูดไป คิดไป ทำไป เลิกไป ร่วงไป โรยไป
การเข้าคู่คำ
คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม
เช่น คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำในภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศ
หรือคำภาษาถิ่นก็ได้ ส่วนมากความหมายจะคงเดิม เช่น เสื่อสาด หมายความว่า เครื่องปูลาด ทรัพย์สิน หมายความว่า ร่ำรวย และข้าวปลาอาหาร
หมายความอาหาร คู่คำที่มีความหมายตรงข้าม ส่วนมากได้ความหมายใหม่ เช่น ข้อเท็จจริง
เท็จ ตรงข้ามกับจริง หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้น สำหรับคู่คำที่มีความหมายต่างกัน
มักจะมีความหมายเดิมเหลืออยู่
สำนวนโวหาร
ในการแปลขั้นสูง ผู้แปลต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆแบบ
มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน บางครั้งอาจเข้าใจผิดเป็นตรงกันข้ามก็ได้
การอ่านมากจะทำให้คุ้นเคยกับสำนวนโวหารแบบต่างๆ
ในวรรณกรรมชั้นดีผู้เขียนมักจะใช้สำนวนโวหารแปลกๆ
ซับซ้อนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิงแต่ถ้าผู้อ่านไม่เข้าใจก็จะได้ผลตรงข้ามกัน
ก่อนจะกล่าวถึงสำนวนแปลกๆ และซับซ้อน ที่มักจะถูกละเลย และหลงลืม เช่น จนกระทั่ง
กับ แก่ เพื่อที่จะให้เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา
ซึ่งจะวางหน้าคำคุณศัพท์
สำนวนที่มีคำซ้ำในที่นี้หมายถึงทั้งคำเดียวกันซ้ำกัน
และคำที่มีความหมายเหมือนกัน การใช้คำซ้ำ มีทั้งดีและเสียปนกันประดุจดาบสองคม
ถ้าผู้เขียนไม่ระมัดระวัง กลายเป็นเสียไปได้ ในส่วนที่ดีของคำซ้ำคือเพื่อความไพเราะ เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง ให้ได้คำใหม่ๆใช้
และเพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์
สำหรับสำนวนที่มีคำแทรกเป็นลักษณะของสำนวนไทยที่อ่อนโยน
ทำให้คำที่สั้นห้วนนั้นสลวยขึ้น เช่น ติดใจ คือ ติดเนื้อต้องใจ หรือใจกว้างคือ
ใจคอกว้างขวาง
โวหารภาพพจน์
โวหารที่นักแปลจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
เพราะนักเขียนหรือกวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน
ถ้าผู้อ่านมีประสบการณ์น้อยก็จะขึ้นไม่ถึงตามไม่ทัน
และไม่เข้าใจจนบางครั้งกวีสร้างภาพพจน์ถึงสิ่งที่ในปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว
นักอ่านบางคนไม่รู้จักก็คิดว่ากวีบิดเบือนความจริงเพื่อป้องกันการไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้
ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลางและศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ่งผู้เขียนทุกชาติใช้ร่วมกันนั่นคือ
โวหารอุปมา ซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ด้วยเปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้แจง
อธิบาย พูดพาดพิงถึง หรือเสริมให้งดงามขึ้น
สำหรับโวหารอุปลักษณ์คือ
การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งนั้นมาเปรียบเทียบมากล่าว
การเปรียบเทียบแบบที่นำไปสู่คำใหม่ๆที่น่าตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจ
โวหารเย้ยหยันคือการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ โวหารขัดแย้งเป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่นๆมาใช้เอ่ยนามนั้นออกมา
โวหารบุคลาธิษฐาน คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด ความกระทำ
มากล่าวเหมือนบุคคล และโวหารกล่าวเกินจริง ซึ่งเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น
และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง ไม่ใช่อธิบายข้อเท็จจริง
ดังนั้นการเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
โดยต้องมีการคำนึงถึงส่วนต่างๆ อาทิ การใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ไม่เกิดความกำกวม มีความแม่นยำ ไม่ทำให้ไขว้เขว ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย
มีชีวิตชีวา เร้าใจ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกอยากอ่านต่อจนจบ และยังมีความสมเหตุสมผล
น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบไม่มีอคติ ไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้อ่าน
มีการใช้ภาษาที่คมคายเฉียบแหลม หนักแน่น แฝงไปด้วยข้อคิดดี โดยใช้ถ้อยคำไม่กี่คำ
และสิ่งสำคัญที่สุดคือการแปลเนื้อความนั้นยังคงรักษาความหมายเดิมในต้นฉบับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น