วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

learning log 15 นอกห้องเรียนอบรมเช้า30

สรุปการเข้าอบรม
“เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
วันที่  30  ตุลาคม  2558  ( ภาคเช้า )
วันที่  30  ตุลาคม  2558  เป็นการอบรมอีกครั้ง  และก็เป็นวันสุดท้าย  การเริ่มต้นของการเข้าอบรมในวันนี้จะเป็นการเริ่มต้นด้วย  การเปรียบเทียบความเหมือนต่างของรูปแบบการเรียนการสอน  ทั้งในแบบดั้งเดิมและแบบใหม่  จากการช่วยกันพิจารณาข้อมูลทั้งสองแบบ  สามารถสรุปได้ว่า  การสอนแบบดั้งเดิมยังคงมีข้อดีมากมาย  แต่อย่างไรก็ตาม  ครูควรนำมารวมกับการสอนในรูปแบบใหม่  โดยการใช้สื่อ  IT  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการห้องเรียน  แต่ต้องดูความเหมาะสม  จากนั้นวิทยากรก็เริ่มเรื่องวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่  21
ประเด็นแรก  คือ  The  Grammar  Translation  Method    ( การสอนแบบไวยากรณ์และการแปล )  การสอนแบบนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการสอนศาสนา  ไม่เป็นการฟังและการพูด  แต่เป็นการเรียนไวยากรณ์และการแปล  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านตำราได้  และการสอนรูปแบบดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านบทเรียนได้อย่างเข้าใจ  เน้นการท่องจำและความถูกต้องในการใช้ภาษา
ประเด็นที่สอง  The  Direct  Method  ( วิธีสอนแบบตรง )  คือ  ควรให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่ได้เรียน  และเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ  ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการคิดที่จะใช้ภาษาที่เรียน  และสื่อสารเรื่องราวกับเหตุการณ์จริง  เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้  เริ่มจากการสอนระบบเทียบ  ให้ผู้เรียนฝึกเลียนแบบและแยกเสียงให้ถูกต้อง  แล้วให้ผู้เรียนฝึกฟังความหมายในประโยค
ประเด็นที่สาม  The  Audio-lingual  Method  ( วิธีสอนแบบฟัง-พูด )  การเรียนวิธีดังกล่าวควรเริ่มต้นจากการฟัง-พูด  และนำไปสู่การอ่าน-การเขียน  ควรใช้ภาษาที่เป็นภาษาจริงที่เจ้าของภาษาใช้พูดกันจริง  และสามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย  การสอนแบบนี้เน้นการท่องจำบทสนทนา  การฝึกอ่าน  และการเขียน
การสอนแบบเงียบ  ( The  silent  Way )  เน้นความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน  ให้ผู้เรียนคิดเอง  ผู้สอนจะต้องพูดให้น้อยที่สุด  เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะความคิดความเข้าใจที่จะค้นพบกฎเกณฑ์ทางภาษาด้วยตนเอง  ผมคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดี  เพราะจะทำให้เด็กใช้ทักษะการคิดมากประเด็นต่อมา  การสอนตามแนวธรรมชาติ  ( The  Natural  Approach )  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติโดยไม่มีใครสอน  เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา  เพื่อการสื่อสาร
และวิธีการสอนแบบอื่น ๆ อีกหลายแบบ  คือ  วิธีการสอนแบบชักชวน  ( Suggestopedia )วิธีการสอนตอบสนองด้วยท่าทางการสอนแบบร่วมมือ  ( Cooperative  learning )การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน  ( Task-Based  Learning )การเรียนรู้จากการทำโครงงาน  ( Project-Based  Learning )แนวการสอบภาษาแบบกำหนดสถานการณ์,  แนวการสอบภาษาเพื่อการสื่อสาร,  การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้,  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  และสิ่งที่วิทยากรเน้นมากที่สุด  คือ  Flipped  Classroom    
การสอนแบบ  The  Flipped  Classroom  ( ห้องเรียนกลับด้าน )  เป็นวิธีการสอนที่กำลังเป็นที่นิยม  เพราะสอดรีบกับวิธีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  คือ  ไม่ต้องการให้ผู้เรียนท่องเก่ง  แต่ต้องการให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้และรู้วิธีการเรียนรู้  ครูจะต้องสอนแต่สิ่งที่สำคัญ  แล้วให้เด็กสามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง  จากที่ครูเคยป้อนข้อมูลให้ทั้งหมด  ครูก็เป็นเพียง  Coach  หรือ  Facillfor  เพื่อฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบ  Active  learning 
จากข้อมูลข้างต้นถือเป็นการสรุปการอบรมในภาคเช้า  เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิชาการ  คือ  การสอนในรูปแบบต่าง ๆ ในศตวรรษที่  21  ซึ่งทั้งที่เป็นที่นิยมมากที่สุด  คือ  Flipped  Classroom  เพื่อต้องการให้เด็กสามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง  เกิดการเรียนรู้แบบ  Active  learning



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น