Learning log 12 ( นอกห้องเรียน )
ผมได้ยินข้อความจากโทรทัศน์ เป็นประโยคคำถาม คือ
“เพราะอะไรจึงชอบ ? “
จากข้อความดังกล่าวทำให้ผมย้อนคิดเกี่ยวกับตัวเองว่าทำไมเราจึงชอบภาษาอังกฤษ เพราะอะไร ?
และคำตอบที่ได้ คือ ผมคุ้นชินกับภาษาอังกฤษมาแต่ยังเล็ก
เพราะป้าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและชอบซื้อหนังสือที่สอนภาอังกฤษมาให้ผมตลอด
และเมื่อผมโตก็ได้รู้ถึงความสำคัญของภาอังกฤษ ผมจึงคิดทบทวนดู สาเหตุที่ผมชอบอาจเพราะอยากสื่อสารได้ อยากมีงานดี ๆ ทำ
ทักษะทางภาษาอังกฤษที่ผมคิดว่าผมถนัด คือ
การอ่านออกเสียง แต่ผมก็ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่การอ่าน ผมยังคงฝึกทุก ๆ ทักษะ เพราะทักษะทางภาอังกฤษเกือบทุกทักษะมักจะโยงเข้าด้วยกัน
จึงทำให้ฝึกแต่ละครั้งได้ทักษะอย่างน้อยไม่ต่ำจากสองทักษะ และการฝึกบ่อย ๆ
จะทำให้เราคุ้นชินจนอาจเกิดเป็น skills และติดตัวเราไปเรื่อย
ๆ และจากการฝึกฝนทักษะทางภาษาอังกฤษภายในหนึ่งสัปดาห์ สามารถสรุปได้ดังนี้
21 ตุลาคม
2558
ได้ฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษจาก www.youtube.com คำแสดงภาษาอังกฤษแบบบริติช / สตีเฟ่นโอปป้า
ในการพูดภาษาอังกฤษ
คำแสลงถือว่าเป็นเรื่องที่ยากในการแปลภาษาอังกฤษสำหรับตัวผมมาก
เพราะถ้าบางครั้งเราแปลตรงตัวมันอาจแปลแล้วเนื้อหาออกมาไม่สวยงาม เช่น Give me
a bell =
Call me, Dog’s
bollocks ถ้าเราแปลตรงตัวจะแปลว่า “ไข่หมา”
แต่ในภาษาแสลงจะแปลว่า ดีมาก
และอีกคำหนึ่งที่ผมชอบและสนใจ คือ Fancy ถ้าแปลตรงตัว มันคือ
จินตนาการ ( n ), ไม่ธรรมดา ( adj.) แต่ในคำแสลง
มันคือ Like เช่น What
do you fancy
for dinner tonight ? และนี้อาจเป็นปัญหาสำหรับเด็กไทย เพราะถ้าเราไม่รู้คำแสลง มันอาจทำให้เราสื่อความไม่ได้
22 ตุลาคม
2558 ฝึกภาษาอังกฤษจาก www.youtube.com เรื่อง [ Vlog Talk ]
คำภาษาอังกฤษที่คนไทยชอบอ่านผิดมาตลอด ! จากวิดีโอ คือ
คนไทยส่วนมากมักออกเสียงผิด
และบางครั้งอาจคิดว่าตัวเองพูดสำเนียงอังกฤษดีและชัด แต่บางครั้งออกเสียงผิดมาตลอด
ในความคิดของผมผมคิดว่าถ้าเรากลัวว่าจะออกเสียงผิด เราก็ควรเปิด
dictionary เพราะในปัจจุบัน dictionary อยู่กับเราทุกที่ เพราะมันอยู่ในสื่อ IT
ที่เราใช้ทุกวัน
คำที่คนไทยมักออกเสียงผิด ได้แก่
Sword = / sord /,
comfortable คนไทยมักออกเสียงว่า “คอมฟอเทเบิล”
แต่มันต้องออกเสียงว่า
คอมฟ์-เทเบิล / KAMFB tabat /,
Error คนไทยมักพูดว่า “เออ-เช่อ”
แต่ในความจริงต้องออกว่า
“แอ-เร่อ” / r / เป็น แต่
ไม่ใช้ แต่ 3 คำนี้ยังมีคำอื่น ๆ
อีกมายมากที่ยังคงออกเสียงผิด
ถ้าไม่อยากให้ผิดควรเปิดคำอ่านดู
24 ตุลาคม
2558
ฝึกการอ่านออกเสียงจากเรื่อง Three Mischief Friends
และด้วยเนื้อเรื่องเป็นรูปแบบของประโยค past
simple tense ทำให้กริยาส่วนใหญ่จะเติม -ed
ตอนแรกผมคิดว่าจะฝึกเพื่ออ่านแล้วแปลเนื้อเรื่องเพียงอย่างเดียว
แต่เมื่อเห็นคำศัพท์ก็เลยฝึกย้ำคำศัพท์ที่เติม -ed
เช่น lived, wanted,
washed, cooked, saved,
talked เป็นต้น
และจากคำศัพท์ที่ฝึกออกเสียง
ผมยังกลัวออกเสียงผิด
เลยเปิดดูวิธีการออกเสียง -ed จากอินเตอร์เน็ต สามารถสรุปได้ดังนี้
1.
–ed
ที่เติมหลังตัวเสียงก้อง
ให้ออกเสียง / d /
2.
–ed
ที่เติมหลังตัวเสียงไม่ก้อง
ให้ออกเสียง / t /
3.
–ed
ที่เติมหลังตัวเสียง / t /, / d / ให้ออกเสียง / id /
25 ตุลาคม
2558 ฝึกภาษาอังกฤษจาก lcarningenglish.voanews.com ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการฟังและการอ่าน และเรียนรู้แกรมมาจากเว็บไซต์จะโลบรกมข่ากต่าง ๆ
ของต่างประเทศทั่วโลกมารวมกัน
เมื่อใช้ฝึกทักษะการฟังและการอ่าน
จากที่ผมได้ฝึกทักษะจากเว็บไซต์นี้
โดยการเปิดข่าวที่สนใจ จากนั้นจะขึ้นข้อมูลข่าวและมีเสียงสำหรับเปิดไปพร้อม
ๆ กับการอ่านข้อความ
ขั้นตอนการฝึกของผม ผมจะเปิดไฟล์เสียงแล้วดูข้อความตามไปพร้อม ๆ
กับเสียง 1 รอบ
หลังจากนั้นผมก็อ่านด้วยตัวเอง
1 รอบ โดยไม่เปิดไฟล์เสียง
และหลังจากนั้นก็เปิดแต่ไฟล์เสียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องอ่าน แล้วฟังไปเรื่อย ๆ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ คือ
ทักษะการอ่านว่าการเน้นจังหวะหรือออกเสียงอย่างไร ก็สามารถตรวจเช็คจังหวะจากไฟล์เสียงว่า คำนี้ออกเสียงอย่างไร-ความช้าเร็วระดับใด แต่ในไฟล์เสียงมีการพูดเร็ว บางครั้งผมก็อาจตามไม่ทัน เลยต้องข้ามคำเพื่อให้ทัน อาจเป็นเพราะ
skill ยังไม่ดีพอ และได้เรียนรู้ไวยากรณ์ ส่วนมากจะเป็นประโยค present
simple tense
26 ตุลาคม
2558
จากวันนี้ได้ลองฝึกทักษะทางภาอังกฤษจากเว็บไซต์ที่ลองฝึกของเมื่อวาน โดยวิธีการเดียวกัน
แต่วันนี้สำเนียงการออกเสียงช้ากว่าเมื่อวานและฟังง่ายกว่า ส่วนทักษะที่ได้เรียนรู้ก็คือ การฟัง
การอ่าน
และสิ่งที่ได้นอกเหนือ คือ คำศัพท์
เพราะจากข่าววันนี้จะเป็นเรื่องกีฬาและจะมีคำศัพท์ที่ใช้ในวงการกีฬา เช่น prospects, league ซึ่งต่อยอดโดยการค้นหาคำศัพท์ เกิดเป็นทักษะการใช้ dictionary อีกด้วย
27 ตุลาคม
2558
ได้ฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษโดยการพูดสื่อสารกับครูสอนภาอังกฤษในช่วงมัธยมของผม แต่ใช้สื่อสารโดยภาษาอังกฤษ
เขาบอกผมว่าเขารู้สึกดีใจที่ผมใช้ภาษาอังกฤษกับเขา เพราะไม่มีใครใช้ภาษาอังกฤษแบบนี้กับเขามานานแล้ว
แต่การพูดของผมผมไม่ได้ยึดติดกับหลักไวยากรณ์ แค่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการสื่อสารพอเข้าใจได้ก็พอ ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
จากการสื่อสารดังกล่าวทำให้ผมได้ฝึกทักษะการพูดและการฟัง ซึ่งการฟังไม่ใช่แค่ฟังเสียงอย่างเดียว
แต่เราจะต้องประมวลให้เป็นภาษาพื้นฐานของเรา ทำให้เราเข้าใจ ซึ่งเป็นทักษะที่ยากพอสมควร จากการสนทนาได้เนื้อหาประมาณ I think
about the story
of the past
I missed school,
students and friends.
I fell lonely
when I stay
at home. และจากข้อความซึ่งเป็นคำพูดของครูหลังจากที่เขาเกษียณอายุราชการ
จากการฝึกทักษะมาหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งประกอบด้วยหลายทักษะ ทั้งการพูด
การฟัง การอ่าน รวมถึงการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง ผมคิดว่าถึงไม่ได้ฝึกอย่างจริงจังมากนัก แต่ก็สามารถพัฒนาการใช้ทักษะทางภาษาของผม เพราะผมคิดว่าการจะเก่งภาไม่ใช่แค่ฝึกแค่ 1-2
วัน
แต่จะต้องฝึกตลอดและเรียนรู้ตลอด
และจากหนึ่งสัปดาห์ของการฝึก
สิ่งที่ผมชอบมากที่สุด คือ การสนทนากับครูผู้เคยสอนภาษาอังกฤษตอนมัธยม เพราะผมรู้สึกว่ามันเป็นช่วงที่ได้ใช้ภาษาจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น