สรุปการเข้าอบรม
“เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
วันที่ 29 ตุลาคม
2558 ( ภาคเช้า )
กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ครู นักศึกษา
และผู้ที่สนใจ
เพื่อให้สามารถนำความรู้ เคล็ดลับกลับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยมี
ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมครั้งนี้
ซึ่งท่านมีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ในขั้นตอนเปิดการอบรม ได้รับการกล่าวเปิดงานจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นเป็นการเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ
“Beyond Language Learning”
จากการเสวนาเรื่อง Beyond Language
Learning โดยมี ผศ.ดร.
ประกาศิต
สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ดร.สุจินต์ หนูแก้ว และอาจารย์สุนทร บุญแก้ว
เป็นผู้ตอบคำถาม
ซึ่งเป็นการอบรมครั้งแรกที่ผมได้เข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ
และจากเรื่องที่อาจารย์ได้เสวนาผมพอจะเข้าใจ เพราะในเวลาเรียน อาจารย์ก็สอนสิ่งต่าง ๆ แทรกมาในบทเรียนตลอด
ประเด็นสำคัญที่อาจารย์สุรินต์ หนูแก้ว พูด
สามารถสรุปได้ดังนี้ คุณลักษณะที่จำเป็นของคนในศตวรรษที่ 21
จะประกอบไปด้วย 7 C และความสามารถพื้นฐาน การอ่าน
การเขียน และการคำนวณ ซึ่งทักษะที่คนใน C21 ใช้มากที่สุด คือ
ทักษะการอ่าน
เพราะคนในปัจจุบันใช้ smartphone มากขึ้น และอ่านข้อมูลจากมัน แต่ขาดการวิเคราะห์ และความหมายของ analyzing การวิเคราะห์ และ analyzical thinking
การคิดวิเคราะห์
และอีกประเด็นหนึ่ง คือ
ความแตกต่างระหว่างการคาดการณ์, การคาดคะเน และการพยากรณ์
การคาดการณ์ คือ การดูแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การคาดคะเน
คือ การคาดหรือการประมาณที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข และการพยากรณ์
คือ
จะต้องมีข้อมูลที่เป็นความจริง
สามารถอ้างอิงได้
และข้อคิดที่สำคัญของอาจารย์
คือ การฝึกบ่อย ๆ อาจทำให้เกิด
skills โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และควรใช้คำถาม “Why
how”
เพื่อพัฒนาการคิด
และประเด็นที่สำคัญของอาจารย์สุนทร บุญแก้ว
สามารถสรุปได้ดังนี้
จะมีวิธีใดที่จะทำให้เด็กมีความพร้อมในการคิด ประการแรก
คือ
จะต้องทำให้เด็กรู้ว่าเขาเรียนไปเพื่ออะไร
ให้เด็กสามารถตอบตัวเองและเข้าใจตัวเอง
ประการที่สอง
กระบวนการและวิธีการจะนำไปสู่เป้าหมาย
แต่เราจะต้องตั้งเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
และประการสุดท้าย คือ สภาพแวดล้อม
จะต้องมีความเหมาะสม
ซึ่งจะส่งผลต่อการคิดของเด็ก
และอีกประเด็น คือ พูดภาษาอังกฤษ
พูดอย่างไรก็ได้เพื่อให้คนอื่นเข้าใจ
ถึงแม้บางครั้งอาจมีการใช้ local language ของแต่ละกลุ่มคน เช่น I’m cool ( la )
ซึ่งจะเป็นภาที่ชาวมาเลเซียมักจะพูดลงท้ายประโยค
หลังจากการเสวนาจบ และทุกคนรับประทานอาหารว่างเสร็จ ก็เริ่มเข้าสู่การอบรมอย่างเป็นทางการ โดย ผศ.ดร.ศิตา
เยี่ยมขันติถาวร
เรื่อง การเรียนการสอนใน C21 การเรียนในยุค C21 จะต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบ IT
เช่น
สมัยเก่าส่งงานแบบเขียนลงกระดา
แต่ในปัจจุบันก็ปรับเป็นส่งงานทาง Facebook แทน ซึ่งมีความสะดวกและทันสมัย และการวิวัฒนาการของภาษา ภาษามีมาใหม่เรื่อย ๆ
และเพิ่มขึ้นอยู่อย่างตลอดเวลา
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ เนื้อหาของภาคเช้า
เนื้อหาช่วงเช้าของการอบรมยังไม่ค่อยลงเนื้อหาที่เป็นวิชาการมาก แต่จะเป็นการเสวนา พูดคุยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ในศตวรรษที่
21 และการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ซึ่งเป็นความรู้ที่บางครั้งเราอาจไม่รู้มาก่อน หรือเป็นการเพิ่มเติมความรู้ที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น