วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
ในการศึกษาเนื้อหาโครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งเนื้อหาดังกล่าว ล้วนเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญในการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่งานแปลต่อไป การสร้างประโยคให้ดูกะทัดรัดและถูกต้อง หากนักศึกษาเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  หรือไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบของประโยคแต่ละแบบได้  จะก่อให้เกิดผลกระทบต่องานแปล เพราะเราไม่สามารถแยกประโยคแต่ละแบบ เพื่อนำไปสู่งานแปลที่มีความหมายที่ถูกต้องของต้นฉบับ ในการสร้างรูปแบบประโยค ตีความหมายของต้นฉบับ  และวิเคราะห์ความหมายก่อนถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ประโยคมีความสละสลวย โดยศึกษาจากโครงสร้างแบบของคำกริยาของฮอร์นบีและแบบประโยคพื้นฐานของไนดา
ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน  The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ  โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า แบบของคำกริยา (verb pattern) จะสังเกตเห็นว่าในการเขียนโครงสร้างแต่ละประโยคนั้น จะประกอบด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และในส่วนเติมเต็มในแต่ละแบบนั้นจะแตกต่างกันออกไป ในแบบที่หนึ่งและสอง มักจะเจอบ่อย เพราะเป็นประโยคที่มีส่วนเติมเต็มเป็นกรรมตรง(Direct object)
 และแบบที่สองเป็นประโยคที่เติม to ซึ่งต้องตามด้วย กริยาช่องที่ 1 เสมอ (infinitive with to)  ส่วนรูปแบบที่สี่ถึงหก จะมีการเขียนโครงสร้างแต่ละประโยคนั้น จะประกอบด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และในส่วนเติมเต็มเป็น คำนามหรือสรรพนาม แต่ในรูปแบบที่เจ็ดจะเป็นการใช้โครงสร้างที่ต่างกันออกไปคือ Object+ verb+ object+ adjective ความแตกต่างที่เด่นชัดคือการใช้รูปแบบของประโยค passive voice คือการนำประโยคที่กล่าวถึงผู้ถูกกระทำ มาทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค สำหรับรูปแบบอื่นๆที่ศึกษาเป็นการใช้รูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกัน บ้างก็ไม่ซับซ้อนจนเกินไปจึงทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้เร็วขึ้น

สำหรับแบบประโยคพื้นฐานของไนดา มีทั้งหมด 7 แบบ ในส่วนของแบบที่หนึ่ง จนกระทั่งแบบที่ห้า จะไม่มีความซับซ้อนมากนัก ยังเป็นประโยคพื้นฐานที่เข้าใจง่าย แต่ในส่วนของแบบที่หกและเจ็ด กระผมคิดว่าค่อนข้างมีความยากง่ายที่ต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้นในการศึกษาครั้งนี้ ทำให้กระผมเกิดความเข้าใจในโครงสร้างดังกล่าวได้มากขึ้น สำหรับการแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น ถ้าผู้แปลมีความสามารถ มีความรู้ดีทั้งสองภาษา การตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่คิดในใจสำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญ การแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะช่วยได้มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น