วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล


ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                Structure หรือ โครงสร้างที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา   เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา  ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น  เราก็จะล้มเหลวในการสื่อสารคอฟังหรืออ่านไม่เข้าใจและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้  ปัญหาทางโครงสร้างนักแปลคนใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์และคำในประโยคหากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายผิด
1.       ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (Parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
         ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1    คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่ตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1           บุรุษ(person)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ถูกพูดด้วย(บุรุษที่2)หรือถูกพูดถึง(บุรุษที่3) 
1.1.2           พจน์ (Number) 
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่งภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner ) ที่ต่างกัน เช่นใช้ a/an นำหน้านามเอกพจน์ แลแสดงพหูพจน์โดนการเติมหน่วยคำศัพท์ –s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้น
1.1.3           การก(case)  
คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามที่บ่งบอกคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไรสัมพันธ์กับคำในประโยคอย่างไรในภาษาอังกฤษการกในคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำแต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการกเจ้าในภาษาไทยมีการเรียงคำจากภาษาอังกฤษ เช่น หนังสือครู ไม่ใช่ ครูหนังสือ
1.1.4           นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) 
 คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็นนามนับได้และนามนับไม่ได้ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม ความแตกต่างดังกล่าวแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s กับนามที่เป็นพหูพจน์ ส่วนนามที่นับไม่ได้ไม่ต้องใช้ a/an และไม่ต้องเติม –s ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้เพราะมีลักษณะนามบอก
1.1.5           คำชี้เฉพาะ (definiteness)  
ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย ดั่งนั้นเวลาคนไทยแปลภาษาอังกฤษจึงต้องระวังเป็นพิเศษ
1.2  คำกริยา
 เป็นหัวใจสำคัญของประโยค มีความซับซ้อนและมีไวยากรณ์มาเกี่ยวข้องหลายประเภท มีการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
1.1.1           กาล (tense)
 แสดงว่าเป็นเวลาในอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยขาดการบ่งชี้กาล เพราะเขาสามารถแยกความแตกต่างระหว่างอดีตกับไม่ใช่อดีต
1.1.2           การณ์ลักษณะ (aspect) 
หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์การเสร็จสิ้นของการกระทำ การณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะผูกติดกับกาลเสมอ
1.1.3           มาลา (mood)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไรในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลาแต่ในภาษาอังกฤษมีมาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยา ในภาษาไทยแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา
1.1.4           วาจก(voice)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ (กรรตุวาจก) หรือถูกกระทำ (กรรมวาจก) ในภาษาอังกฤษมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
1.1.5           กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.non-finite) 
คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภทของไวยากรณ์เช่น มาลา กาล วาจก ส่วนกริยาอื่นในประโยคแสดงให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ คือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้ไม่แท้ ในการแปลอังกฤษเป็นไทยผู้แปลจำเป็นต้องขึ้นประโยคใหม่ คือทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ ของประโยคใหม่
1.2          ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยาและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา นอกจากนั้น คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ แต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้ คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค เช่น He is clever. The bag is heavy. ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด เช่น เขาฉลาด ที่กล่าวมาแล้วเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการซึ่งถ้าผู้แปลมีความเข้าใจก็จะช่วยให้การแปลทำได้ง่ายขึ้น
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ (ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม)
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงข้ามเวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construtions)
ดังที่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่องวาจก (voice) ในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้วผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและมีแบบเดียวคือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา verb to be + past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject-oriented language)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
หน่วยสร้างในภาษไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
3. สรุป
3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้ลักษณนาม และ คำลงท้าย
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน สำหรับกริยาภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
นามวลี นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  หน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบและไม่จำเป้นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป  ประโยคเน้นประธานและประโยคเน้นเรื่อง(subject vs. topic) ปรโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน และประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง  หน่วยสร้างกริยาเรื่อง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
ข้อสรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น