วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล


ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                Structure หรือ โครงสร้างที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา   เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา  ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น  เราก็จะล้มเหลวในการสื่อสารคอฟังหรืออ่านไม่เข้าใจและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้  ปัญหาทางโครงสร้างนักแปลคนใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์และคำในประโยคหากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายผิด
1.       ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (Parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
         ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1    คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่ตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1           บุรุษ(person)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ถูกพูดด้วย(บุรุษที่2)หรือถูกพูดถึง(บุรุษที่3) 
1.1.2           พจน์ (Number) 
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่งภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner ) ที่ต่างกัน เช่นใช้ a/an นำหน้านามเอกพจน์ แลแสดงพหูพจน์โดนการเติมหน่วยคำศัพท์ –s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้น
1.1.3           การก(case)  
คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามที่บ่งบอกคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไรสัมพันธ์กับคำในประโยคอย่างไรในภาษาอังกฤษการกในคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำแต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการกเจ้าในภาษาไทยมีการเรียงคำจากภาษาอังกฤษ เช่น หนังสือครู ไม่ใช่ ครูหนังสือ
1.1.4           นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) 
 คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็นนามนับได้และนามนับไม่ได้ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม ความแตกต่างดังกล่าวแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s กับนามที่เป็นพหูพจน์ ส่วนนามที่นับไม่ได้ไม่ต้องใช้ a/an และไม่ต้องเติม –s ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้เพราะมีลักษณะนามบอก
1.1.5           คำชี้เฉพาะ (definiteness)  
ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย ดั่งนั้นเวลาคนไทยแปลภาษาอังกฤษจึงต้องระวังเป็นพิเศษ
1.2  คำกริยา
 เป็นหัวใจสำคัญของประโยค มีความซับซ้อนและมีไวยากรณ์มาเกี่ยวข้องหลายประเภท มีการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
1.1.1           กาล (tense)
 แสดงว่าเป็นเวลาในอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยขาดการบ่งชี้กาล เพราะเขาสามารถแยกความแตกต่างระหว่างอดีตกับไม่ใช่อดีต
1.1.2           การณ์ลักษณะ (aspect) 
หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์การเสร็จสิ้นของการกระทำ การณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะผูกติดกับกาลเสมอ
1.1.3           มาลา (mood)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไรในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลาแต่ในภาษาอังกฤษมีมาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยา ในภาษาไทยแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา
1.1.4           วาจก(voice)
 เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ (กรรตุวาจก) หรือถูกกระทำ (กรรมวาจก) ในภาษาอังกฤษมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
1.1.5           กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.non-finite) 
คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภทของไวยากรณ์เช่น มาลา กาล วาจก ส่วนกริยาอื่นในประโยคแสดงให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ คือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้ไม่แท้ ในการแปลอังกฤษเป็นไทยผู้แปลจำเป็นต้องขึ้นประโยคใหม่ คือทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ ของประโยคใหม่
1.2          ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยาและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา นอกจากนั้น คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ แต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้ คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค เช่น He is clever. The bag is heavy. ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด เช่น เขาฉลาด ที่กล่าวมาแล้วเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการซึ่งถ้าผู้แปลมีความเข้าใจก็จะช่วยให้การแปลทำได้ง่ายขึ้น
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ (ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม)
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงข้ามเวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construtions)
ดังที่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่องวาจก (voice) ในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้วผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและมีแบบเดียวคือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา verb to be + past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject-oriented language)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
หน่วยสร้างในภาษไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
3. สรุป
3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้ลักษณนาม และ คำลงท้าย
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน สำหรับกริยาภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
นามวลี นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  หน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบและไม่จำเป้นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป  ประโยคเน้นประธานและประโยคเน้นเรื่อง(subject vs. topic) ปรโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน และประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง  หน่วยสร้างกริยาเรื่อง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
ข้อสรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด

การแปล


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง  เช่น  เดินทางทางอากาศ  ใช้ในทางการไปรษณีย์  ตลอดจนในการศึกษาจึงแสดงให้เห็นว่า  ภาษาอังกฤษมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆรวมทั้งเป็นภาษาของการปฎิวัติอุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีด้วย  จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย  เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก  จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญรุดหน้าไปมาก  คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการติดต่อกันมากขึ้นทุกวัน  การแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น  ผู้ที่ทำการติดต่อนั้น  บางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ  จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส  จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก  มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
                การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย  ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว
                จึงควรมีการแปลงานทุกอย่างหรือแปลมาเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ  ระหว่างประชาชน   และระหว่างสังคม    ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย  เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ  และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Cultural backgrown)  ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีตลอดเวลาศัพท์บางคำ  หาคำเทียบในภาษาไทยไม่ได้จริงๆ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย  เป็นการสอนไวยากรณ์  และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษา  รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ  เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว
การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง  โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ  ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
คุณสมบัติของผู้แปล
                เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีขบวนการที่กระทำต่อภาษา  ผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1.                 เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.                สามารถถ่ายถอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.                เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา  มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.                เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี  หรือภาษาศาสตร์
5.                ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้  รักเรียน   รักอ่าน   และรักการค้นคว้าวิจัย  เพราะสิ่งที่สำคัญของการแปลคือ  การถ่ายถอดความคิดเป็นนามธรรมออกมาโดยใช้ภาษาซึ่งเป็นรูปธรรม
6.                ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ  เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและเวลาเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะ  ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้น  การตรวจแก้ไข  จึงจะเกิดทักษะ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
คือ  สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคมสรุปได้ว่าผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.             รู้ลึกซึ่งในเรื่องภาษา  มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี  มีความสามารถในการใช้ภาษา
2.             รักการอ่าน  ค้นคว้า
3.             มีความอดทน  มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.             มีความรับผิดชอบ  รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล 
1.             เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล  คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.             การสอนแปลให้ได้ผล  ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ2ทักษะ  คือ  ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.             ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4.             ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการไปดูงานการทำงานของนักแปลในสำนักงาน
หลักสำคัญในการแปลมี5ประการคือ
1.                ผู้แปลจะต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะแปล  รวมทั้งความตั้งใจของผู้เขียนต้นฉบับอย่างถ่องแท้
2.                ผู้แปลจะต้องมีความรู้ภาษา  ทั้งสองอย่างดีเยี่ยม
3.                ผู้แปลควรจะหลีกเลี่ยงการแปลคำต่อคำ  เพราะจะทำให้ความหมายของต้นฉบับผิดไป  รวมทั้งจะได้สำนวนภาษาที่ไม่สละสลวย
4.                ผู้แปลควรจะใช้ภาษาปัจจุบันในการแปล
5.                ผู้แปลควรจะใช้ระดับของภาษาที่ตรงกันกับต้นฉบับ
การแปลที่ดีจะต้องมีหลัก3ประการคือ
1.             เป็นการแปลที่ตรงกับต้นฉบับทุกประการ
2.             ใช้ภาษาที่ตรงกับต้นฉบับ  และเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของผู้เขียนต้นฉบับ
3.             ในการแปลต้องเป็นธรรมชาติและดูง่าย
หลักในการแปล
1.              การแปลนั้นจะต้องได้ความคิดครบถ้วนตรงตามฉบับ
2.             แบบของการเขียนเป็นแบบเดียวกับภาษาในต้นฉบับ
3.             การแปลควรจะต้องอ่านง่ายและตรงตามต้นฉบับ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
                งานแปลจะต้องมีความตรงกันในด้านความหมายของงานต้นฉบับและงานฉบับแปล  และมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล  งานแปลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติสองประการนี้  คือ  ความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมายและภาษาที่สละสลวย  ผู้แปลจึงต้องรู้ทั้งสองภาษา  คือมีความรู้อย่างดีทั้งในภาษาต้นฉบับและในภาษาที่ใช้แปล
1.                ความหมายถูกต้อง  และครบถ้วนตามต้นฉบับ  (equivalence in meaning)
2.                รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ (equivalence in style)
3.                สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา (register)
การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งนั้น  ผู้แปลจะต้องรักษาความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง  โดยมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาที่แปลให้เหมาะสม  หมายถึง  การแปลที่แปลให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดคือพยายามรักษาความหมายให้คงอยู่ครบถ้วน
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน  การให้ความหมายมี2ประการ คือ
1.                การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.                การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
                ความใกล้เคียง (Context) และความคิดรวบยอด(Concept)  ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน(paraphasing)  แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ  ความหมายจากความรอบข้างหรือปริบทของข้อความ(Context)  เป็นรูปนามธรรม   ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1.                องค์ประกอบของความหมาย
2.                ความหมายและรูปแบบ
3.                ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
                เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย  ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมายคือ
1.                คำศัพท์  ถือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
2.                ไวยากรณ์  หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา  เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3.                เสียง  ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
ประเภทของความหมาย
                นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้4ประเภทด้วยกัน
1.                ความหมายอ้างอิง (referential meaning)  หรือความหมายโดยตรง(denotative meaning)  ความหมายอ้างอิงหมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม  หรือเป็นความคิด  มโนภาพ
2.                ความหมายแปล  (Connotative meaning)  หมายถึง  ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก  หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.                ความหมายตามปริบท (Contextual meaning)  รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย  ต้องพิจารนาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด  จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4.                ความหมายเชิงอุปมา(figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย(simile) และการเปรียบโดยนัย(simile) และการเปรียบโดยใน(metaphor)ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเที่ยบ โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบ  ออกเป็น3ส่วนคือ
4.1      สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ(topic)
4.2      สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ(illustration)
4.3      ประเด็นของการเปรียบเทียบ(point of similarity)
การเลือกบทแปลก
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล  เช่น  แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เช่น แปลข่าว  สารคดี  เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน  โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล
เรื่องที่จะแปล
                เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา  มีทั้ง  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  มนุษยศาสตร์  จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด  ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย  จึงควรมีคณะกรรมการการแปลระดับชาติ  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน  คือกรรมการและมีอนุกรรมการ  การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่างๆจะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ  และจะสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งการแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับ